ตอบ
ความงามมีหลายระดับชั้น ผู้ที่จะสัมผัสความงามชั้นสูงอันมีอยู่ในศิลปะสูงๆ จำเป็นจะต้องฝึกฝนรสนิยมให้สูงขึ้นจนถึงระดับนั้น จึงจะรับความงามนั้นๆได้
ถาม : การเห็นคุณค่าของศิลปะกับการสัมผัสกับศิลปะ มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ
การสัมผัสในศิลปะจะได้รับรสแค่ไหนขึ้นอยู่กับรสนิยมกับความเข้าใจในศิลปะของบุคคลนั้นๆว่าอยู่ในระดับเช่นใด
เช่นผู้หนึ่งเมื่อพบงานศิลปะ ก็จะกล่าวออกมาว่าศิลปะชิ้นนั้นเลวหรือดีตามทัศนะของเขา ความเห็นแบบนี้มิไช่เป็นความเห็นอันถูกต้อง เราจะต้องตรวจสอบเสียก่อนว่าผู้นั้นมีรสนิยมทางศิลปะขนาดไหน ถ้าผู้นั้นปราศจากรสนิยม คำวิจารณ์นั้นก็เป็นอันใช้ไม่ได้
ดังนั้นการเห็นคุณค่า (art appreciation) จึงสำคัญมาก ผู้จะเห็นคุณค่าจำเป็นต้องศึกษางานศิลปะมาตามลำดับชั้น จะต้องผ่านการไต่เต้ารสนิยมในแต่ละขั้น ดังเช่นบุคคลผู้ไม่เคยรับรู้รสไลต์มิวสิค (light music) จะกระโดดไปฟังเพลงคลาสสิคเลยทีเดียว เขาย่อมจะไม่รู้เรื่องแน่นอน ก็เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการรู้คุณค่าในงานจิตรกรรมแบบอิมเพรสชันนิสม์มาก่อน ก็ย่อมจะดูภาพเขียนแบบแอบสแตรกต์ไม่รู้เรื่องเป็นของธรรมดา
ศิลปะไม่ไช่ธรรมชาติ จะได้เอาอารมณ์ความรู้สึกของตนเป็นเครื่องวัด เพราะอารมณ์ดั้งเดิมของบุคคลเป็นมูลฐานขั้นต่ำเท่านั้น
ถาม : ต้องการให้อธิบายเรื่องนี้ให้ชัด
ตอบ
การที่บุคคลสามารถรับรู้ว่าธรรมชาติของทะเล ภูเขาต้นไม้ ดอกไม้ แม้สัตว์ต่างๆ ว่าสวยงามนั้น เพราะได้ใช้อารมณ์อันเกิดจากสัญชาติญาณในธรรมชาติ ซึ่งเป็นอารมณ์ในด้านความงาม (aesthetic sense) เป็นเครื่องวัด
อารมณ์อันรับรู้ความงามในธรรมชาติ มิไช่ว่าจะมีในมนุษย์แต่อย่างเดียว แม้สัตว์ก็มีเช่นกัน แต่เป็นไปในด้านการดำรงอยู่และการสืบพันธุ์โดยเฉพาะ เช่น นกยูง ไก่ และสัตว์ตัวผู้ ธรรมชาติสร้างให้สวยกว่าตัวเมีย ก็เพื่อจะล่อตัวเมียให้หลงในความงามของตัวผู้เพื่อประโยชน์ในการสืบพันธุ์
ดอกไม้ต้องสร้างกลีบและสีให้สวย ให้มีกลิ่นหอม ก็เพื่อล่อแมลงมาดื่มน้ำหวานในเกสร จะได้คลุกเคล้าเกสรจากต้นนี้ไปต้นโน้น เป็นการผสมพันธุ์ให้เกิดการขยายพันธุ์ต่อๆไป ส่วนแมลงนั้นย่อมนั้นย่อมมีอารมณ์ในความงาม จึงได้เห็นดอกไม้สวย
ถาม : อารมณ์รับรู้ในความงามของมนุษย์และสัตว์นี้ จะวิวัฒนาการสูงขึ้นได้ไหม
ตอบ
เฉพาะสัตว์ไม่อาจวิวัฒนาการได้ แต่มนุษย์นั้นสามารถวิวัฒนาการได้ในงานศิลปะ
ถาม : ถ้าเช่นนั้นความงามของศิลปะกับความงามของธรรมชาติก็ย่อมแตกต่างกัน
ตอบ
ถูกแล้ว ความงามของศิลปะเป็นของนอกเหนือธรรมชาติเพราะศิลปะได้สอดไส่อารมณ์ประทับใจ (impression) และอารมณ์สะเทือนใจลงไปด้วย
ถาม : ศิลปะน่าจะเป็นเรื่องยาก ด้วยผู้ชมจะต้องมีพื้นฐานและความเข้าใจความเป็นมาของศิลปะนั้นๆด้วย
ตอบ
จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย เพราะถึงจะมีหลายแบบหลายประเภท ศิลปะก็ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์อันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ต้องมีจังหวะ ช่องไฟ น้ำหนักและส่วนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดได้ว่าศิลปะนั้นๆ ดีเลวแค่ไหน
สิ่งนี้เป็นกฎเกณฑ์ง่ายๆ เพราะมนุษย์สามารถจะแยกแยะได้เอง แม้สิ่งนี้ดีหรือไม่ดี ถ้างานใดจังหวะช่องไฟไม่ดี ก็จะสัมผัสได้ทันทีว่าไม่ดียิ่งนำมาเทียบกับงานดีก็จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น
ส่วนที่ว่ายากก็คือ บางครั้งการจะรับรู้ศิลปะให้ลึกซึ้ง จำเป็นจะต้องรู้ถึงเบื้องหลังของที่มาของศิลปะนั้นๆ เช่น คติ ความเชื่อ ศาสนา ประเพณี และสิ่งบันดาลใจ หรืออิทธิพลที่จะส่งมายังศิลปะนั้นๆ ยิ่งลึกเข้าไปอีกถึงแก่ต้องสืบสาวราวเรื่องถึงศิลปินผู้สร้างงานศิลปะด้วย ก็ยิ่งทำให้ได้รับรสพิเศษมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น