วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

สีแสดงถึงอารมณ์




โดย น.ณ ปากน้ำ


สีซึ่งเป็นเครื่องมืแสดงหรือประกอบศิลปะจิตรกรรมนั้นได้แสดงความรู้สึกนึกคิดที่กว้างขวางกว่าภาพขาวดำ หรืองานเขียนเส้น (drawing)งานเขียนเส้น หรือการแรเงานั้น ถ้าเปรียบดนตรีก็เสมือนเครื่องดนตรีชิ้นเดียวทีบรรเลงโดนลำพัง เช่นการเดี่ยวเปียโน เดี่ยวไวโอลิน หรือเดี่ยวกีตาร์ เป็นต้น ดนตรีเพียงชิ้นเดียว ไม่มีดนตรีชิ้นอื่นประกอบด้วยก็คล้ายกับการเขียนภาพด้วยดนิสอ ด้วยสีถ่าน หรือด้วยเครยอง ได้อาศัยแสดงความรู้สึกนึกคิดด้วยเส้น และด้วยน้ไหนักอ่อนอก่ หรือหนักเบาของเสียงดนตรีนั้นๆ เกิดอารมณ์รื่นเริง หรือวิเวกหวานไปตามเสียงเพลงที่ถ่ายทอดอารมย์ความรู้สึกของผู้บรรเลงออกมา ก็จัดว่าเป็นศิลปะอันควรยกย่องอยู่ในประเภทเครื่องมีชิ้นเดียว
แต่ในวงการดนตรีนั้นมีกรรมวิธีในการเล่น หรือขบวนการหลายแบบหลายประการ
ดังเช่น ถ้าเล่นเดี่ยวแต่มีขบวนการเล่นที่เป็นชุดสลับซับซ้อน เหมือนเช่นการร่างภาพสีต่างๆ สีเดียว แต่วางอาค์ประกอบ (composition) เสียใหญ่โตสลับซับซ้อน โดยไม่มีเครื่องดนตรีอื่นมาช่วยเลย เรียกว่า โซนาตา (Sonata)


ถ้าบรรเลงนำด้วยเครื่องดนตรีหลักเพียงชิ้นเดียว จะเป็นไวโอลินหรือเปียโนก็ได้เป็นตัวนำยืนพื้นไปตลอด แต่มีการบรรเลงดนตรีทั้งวงประกอบด้วยโดยมีจังหวะดว้นให้เครื่องดนตรีที่เป็นตัวนำได้แสดงฝีมืออย่างเด่นเฉพาะตอนแบบนี้เรียนว่า คอนแชร์โต (concerto)


ถ้าเป็นการบรรเลงดนตรีทั้งวงและเล่นอย่างเคร่งเครียด ปล่อยอารมณ์อย่างสุดฝีมือ เรียกว่า ซิมโฟนี (Symphony)


การบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องมือบรรเลงหลายชิ้นผสานกัน ก็คล้ายกับการเขียนรูปที่ใช้สีหลายสีเต็มอัตรา  แต่การบรรเลงเครื่องดนตรีทุกชิ้นเต็มอัตรานี้ มิใช่เรียกว่า บรรเลงซิมโฟนีเสมอไป บางทีงานบรรเลงนั้นๆ อาจจะหย่อนคุณค่า หรือหย่อนความเคร่งเครียดลงด้วยความตั้งใจของศิลปิน หรือด้วยระดับภูมิความรู้ ความเข้าใจของเขาอยู่ในระดับนั้นๆ บางทีเพลงอาจจะเบา เรียกว่า ดนตรีเบาๆ (light music) หรือถ้ามุ่งบรรเลงในการเต้นรำงานรื่นเริง เพื่อความสนุกสนานมีจังหวะเร้า ก็เรียกว่า เพลงแจ๊ส (jazz) หรือเพลงป๊อปปูล่า (popular) อันเป็นเพลงเบาๆที่คนนิยมกันมาก

สีสำแดงอารมณ์ เมื่อได้นำสีหลายสีมาเขียนเป็นงานจิตรกรรม จึงมีอารมณ์หลายอย่างระคนคละกัน ซึ่งโดยสามัญสำนึกเราควรจะต้องรู้อารมณ์ของสีดังต่อไปนี้
นักปราชญ์ฝ่ายศิลปกรรมท่านได้จำแนกสีไว้เป็น 2 ประเภท คือสีร้อน (warm tone) และ สีเย็น (cool tone)



ฝ่ายร้อนก็แสดงแารมณ์กระฉับกระเฉง รื่นเริง หรือร้อนแรง

ส่วนฝ่ายเย็นก็คือ ความสงบ ความเศร้า และความเยือกเย็น กล่าวง่ายๆคือ แม้แต่แม่สีทั้งปวงอ้นเป็นตัวการที่จะนำมาประกอบศิลปะจิตรกรรม ก็ยังต้องแยกประเภทให้เป็นสอง คือ สุขหรือทุกข์ ลองนึกย้อนไปถึงความจำเป็นที่ต้องเกิดสุขนาฏกรรม (Comedy) และโศกนาฏกรรม(Tragedy) ก็เพราะศิลปะคือ ธรรมชาติ ย่อมจะต้องถูกครอบงำด้วยอำนาจโลกธรรม คือ ไม่สุขก็ต้องเป็นทุกข์เสมอ


สีฝ่ายเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีที่เย็นตา เย็นใจ เช่น เขียวเหลือง เขียว เขียวแก่ น้ำเงิน คราม และ ม่วงคราม
ส่วนสีฝ่ายร้อน (warm tone) ประกอบด้วย สีที่ให้ความคึกคัก ร้อนแรง หรือกระตุ้นอารมณ์ให้หายจากความเฉื่อยชา เช่น ดังเช่น สีเหลือง สีส้ม แสด แดง ม่วงแดง และ ม่วง


สีขาวเป็นสีบริสุทธิ์ แจ่มใส แสดงถึงความไม่มีมลทิน ความชื่นบาน

ส่วนสีดำกลับตรงกันข้าม บ่งบอกถึงความเศร้า ความสลดหดหู่ ความตาย

สีส้ม หมายถึง อารมณ์กระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวาขึ้น
สีเแสด หมายถึง ความร้อนแรง การแสดงพลังอำนาจ
สีแดง หมายถึง ความขัดแย้ง การต่อสู เลือด และอันตราย
สีม่วงแดง คือ ความรื่นเริง แต่อมทุกข์ มีความวอตกกังวล และ ความเคียดแค้นชิงชัง
สีดำ หมายถึง ความตาย ความเศร้า ระทมทุกข์
สีเขียว คือ ความสุข ความยินดีปรีดาในความสมหวัง ความหวังอันบรรลุความสำเร็จ
สีเขียวแก่ หมายถึง ความวิตกกังวล ความสุขุม และความเงียบ วังเวง
สีน้ำเงิน หมายถึง ความเศร้าซึม ความทุกข์ ความเจ็บช้ำใจ
สีม่วง หมายถึง สีแห่งความชอกช้ำ ความทุกข์โศก ระทมทุกข์

ดังนี้ เราก็คงจะแยกประเภทออกแล้วว่า ถ้าโครงสร้างของสี (tonality) ในงานจิตรกรรมชิ้นใด มีส่วนใหญ่สีใดสีหนึ่งครอบงำอยู่ เราก็ดูว่า สีนั้นๆ อยู่ฝ่ายเย็นหรือร้อน ก็อาจจะจำแนกอารมณ์ได้ว่า เป็ฯฝ่ายสุขหรือทุกข์ หรือเป็นฝ่ายรื่นเริง ไม่ก็เศร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ถ้าโครงสร้างของสีในรูปภาพถูกครอบงำด้วยสีเหลือง หมายถึงความสมบูรณ์พูนสุข ความสมปรารถนา

บทบาทของสีได้สำแดงอารมณ์ออกมาดังที่ได้พรรณามานี้ จึงเห็นว่าเราจำเป็นจะต้องรอบรู้ถึงจิตวิทยาของสีด้วยเป็นประการสำคัญ และจะได้เข้าใจความลึกซึ้งของศิลปะอันปรากฎให้เห็นนั้น


ในการเปรียบเทียบศิลปะกับเครื่องมืออันใช้ประกอบศิลปะ ก็พอเปรียบเทียบไ้ดง่ายๆอย่างเช่น แตะทรัมเปต อันมีเสียงแหวกอากาศ แผดก้อง ก็คล้ายกับสีแสด กับแดง


เสียงเปียโนที่สามารถแสดงอารมณ์คร่ำครวญได้ลึกซึ้ง ก็เปรียบดังสีน้ำเงิน หรือสีบลู


เสียงกลอง อันดังกระหึ่ม เป็นเสียงทุ้ม เปรียบประดุจสีม่วงคราม และสีเขียวแก่


เสียงแหลมหวานของไวโอลิน ดุจดังสีเหลือง ที่ใหอารมณ์กระชุ่มกระชวย เบิกบาน ดังนี้เป็นต้น


ในการเปรียบเทียบเครื่องมือประกอบศิลปะนั้น เราอาจจะเทียบเหมือนกับสัญญลักษณ์อะไรบางอย่างดังเช่น การออกแบบศาลพิจารณาคดีความ สถาปนิกจะต้องออกแบบอาคารให้ดูใหญ่โตโอ่โถง มีศักดิ์ศรี เพื่อพยุงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่กระทำหน้าที่ต่างๆภายในศาลนั้น ให้เห็นค่าถึงความสุจริต ยุติธรรม โดยมีหลักประกันของกฏหมาย อันเป็นบทบัญญัติที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดละเมิดมิได้ สถาปนิกต้องเข้าใจจิตวิทยาในข้อนี้ เมื่อนักออกแบบอาคารของศาล ก็จะต้องนึกถึงความสง่า ความใหญ๋โตน่าเกรงขามเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าเป็นเพลงก็หมายถึงซิมโฟนี อันแสดงถึงอำนาจ ความสง่า ความโอฬาร หรือเพลงที่ แสดงความสง่าผ่าเผย ดังเช่น เพลง Tocata and Fugue ของบาค เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น