นายประยูร อุลุชาฎะ
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
ประจำปีพุทธศักราช 2535
คำประกาศเกียรติคุณ
นายประยูร อุลุชาฎะ
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
นายประยูร อุลุชาฎะ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2535
ประวัติชีวิตและผลงาน
นายประยูร อุลุชาฎะ*
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
นายประยูร อุลุชาฎะ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2471 ที่คลองมหาวงศ์ ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นศิลปินคนสำคัญของชาติยุคบุกเบิกศิลปะยุคใหม่ของไทย ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับนับถือเป็นปูชนียบุคคลในวงการศิลปะและวิทยาการอย่างกว้างขวาง
นายประยูร อุลุชาฎะ สนใจศิลปะตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมแล้ว ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเพาะช่าง เมื่อ พ.ศ. 2486 รุ่นเดียวกับอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ และได้เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรกับท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์อื่นๆ เป็นเวลา 3 ปี ได้รับอนุปริญญาศิลปบัณฑิตด้านจิตรกรรมและประติมากรรม พ.ศ. 2492 หลังจากนั้นได้ศึกษาเพิ่มเติมในด้านจิตรกรรมกับท่านศาสตราจารย์ศิลป์อีก 2 ปี จนมีความรู้และความสามารถในทางทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะเป็นอย่างดี สร้างสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและงานวิชาการศิลปะเผยแพร่ต่อประชาชน หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาศิลปะและวิชาช่างมาเป็นเวลา 8 ปี
นายประยูร อุลุชาฎะ เป็นศิลปินหัวใหม่ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้อนุรักษ์ศิลปะโบราณควบคู่กันไป เป็นทั้งศิลปินและนักวิชาการ ในลักษณะเดียวกับท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้เป็นครู ทำงานศิลปะหลายแบบและเทคนิคเพื่อการทดลองและบุกเบิกยุคแรกๆไม่ว่าจะเป็นงานแบบเรียลลิสม์ อิมเพรสชั่นนิสม์ คิวบิสม์ เซอร์เรียลลิสม์ และแบบนามธรรมได้ทดลองทำมาหมด ในด้านเทคนิคนั้นได้เขียนสีชอล์ก สีฝุ่น สีน้ำมัน และสีน้ำ และเขียนได้ดีทุกเทคนิค และมีความสามารถชั้นครู เป็นผู้ที่มีความสามารถใช้สีได้ดีเยี่ยมในทางจิตรกรรม นอกจากนี้ยังเขียนภาพจิตรกรรมแบบประเพณีนิยมด้วย นายประยูร อุลุชาฎะ กล่าวว่า ได้เขียนภาพมากในช่วง พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันมีขนาดกว้างเมตรขึ้นไป และมีจำนวนนับร้อยภาพ เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่ผลงานเหล่านี้เก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรรื้ออาคารเพื่อสร้างใหม่ ผลงานได้กระจัดกระจายไป เสียหาย สูญหาย และมี นักศึกษาเอาไปเขียนทับ นับว่าเป็นการสูญเสียผลงานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่ไปนับร้อยภาพ ผลงานยุคนี้มีเหลือให้ชมและศึกษาได้ไม่กี่ภาพ ที่สำคัญที่สุด คือ จิตรกรรมสีน้ำมัน ชื่อ “จันทบุรี” เป็นผลงานจิตรกรรมแบบโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ของไทย มีเนื้อหาสาระไทย ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังตั้งแต่สมัยนั้นจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันภาพนี้แสดงถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กรมศิลปากร กรุงเทพมหานคร ผลงานบุกเบิกที่สำคัญอีกภาพหนึ่งคือภาพชื่อ “ยุคมืด” เป็นภาพวาดเอรีรงค์ เป็นแนวผสมผสานแบบคิวบิสม์ และเซอร์เรียลลิสม์ ในเนื้อหาสาระไทยซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่บุกเบิกและก้าวหน้ามากในยุคนั้น และมีผลงานบุกเบิกอีกภาพหนึ่งคือจิตรกรรมชื่อ “ซิมโฟนี อิน เยลโลว์” ซึ่งอยู่ในแบบนามธรรม เป็นผลงานที่ก้าวหน้าที่สุดของยุคนั้น เพราะกว่าศิลปินอื่นจะเริ่มทำงานแบบนามธรรมก็เมื่อ 12 ปี ผ่านมาแล้วต้องถือว่านายประยูร อุลุชาฎะ เป็นผู้บุกเบิกในด้านจิตรกรรมนามธรรม
หลังจาก พ.ศ. 2495 เป็นต้นมา นายประยูร อุลุชาฎะ ได้เลือกแนวทางอิมเพรสชั่นนิสม์ในการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำมัน สีน้ำ สีชอล์ก นอกจากนี้มีผลงานจิตรกรรมแบบประเพณี และแบบผสมผสานประเพณีกับแบบใหม่ ที่ทำในระยะหลังสุดนี้ คือจิตรกรรมสีน้ำซึ่งเป็นผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง สามารถเขียนสีน้ำบางๆ สีสะอาด ให้ความงามหรือสุนทรียะเป็นอย่างมาก เป็นฝีมือชั้นครูที่ทำอยู่ตลอดเวลา และทำถึงขั้นสุดยอดของสีน้ำ นายประยูรฯ ได้กล่าวถึงเรื่องจิตรกรรมสีน้ำไว้ว่า “เมื่อ พ.ศ. 2511 ข้าพเจ้าเขียนรูปสีน้ำอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเห็นว่าอุปกรณ์ต่างๆ ขนไปง่าย สะดวกดี ไม่ลำบากเหมือนเขียนสีน้ำมัน ข้าพเจ้าไปเขียนที่ด้านเกวียน ชายทะเล ลำน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ งานเหล่านี่ได้จัดแสดงอย่างน้อย 20 ชิ้น ร่วมกับผู้อื่นที่พญาไทแกลเลอรี่ (บัดนี้ล้มไปแล้ว) การแสดงครั้งนั้นได้รับการกล่าวขวัญกันในด้านเทคนิคสีน้ำ ซึ่งข้าพเจ้าเขียนได้อย่างสมใจนึก ประจวบกับเป็นระยะที่ทุ่มเทให้การเขียนรูปอย่างจริงจัง”
นายประยูร อุลุชาฎะ ได้แสดงผลงานตั้งแต่ พ.ศ. 2488 ที่สำคัญที่สุด คือ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2493 ผลงานได้รับการคัดเลือกและได้รับรางวัลหลายครั้ง รางวัลสูงสุดคือ ภาพชื่อ “จันทบุรี” ได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2498
และในฐานะที่เป็นศิลปินอาวุโสคนสำคัญ มักจะได้รับเชิญไปแสดงผลงานในการแสดงของกลุ่มต่างๆ เสมอ ผลงานที่มีชื่อ “จันทบุรี” ได้รับเลือกแสดงในการแสดงศิลปะร่วมสมัยของไทยในต่างประเทศที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ. 2528 ได้มีการรวบรวมผลงาน 30 ปี ของนายประยูรฯ แสดงที่โรงแรมมณเฑียร เมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อครั้งอายุครบ 60 ปี ได้มีการจัดแสดงผลงานย้อนหลังให้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เมื่อ พ.ศ. 2531 นับว่าเป็นเกียรติสูงสุดสำหรับศิลปินที่ได้รับจากสถาบันของรัฐ และผลงานของนายประยูรฯ ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัยของไทยเกือบทุกเล่ม ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกและให้อิทธิพลแก่ศิลปินรุ่นหลังทำให้มีวิวัฒนาการในทางศิลปะแบบใหม่
นอกจากงานสร้างสรรค์ศิลปะแล้วนายประยูร อุลุชาฎะ ได้ทำงานด้านการอนุรักษ์ศิลปะโบราณไว้ทั้งในด้านปฏิบัติและการเขียนหนังสือภาพคัดลอกจิตรกรรมไทยที่ทำขึ้นในช่วงที่ศึกษาค้นคว้าที่จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และยังได้เขียนภาพพุทธประวัติภายในพระอุโบสถของวัดป่าโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นจิตรกรรมสีฝุ่นบนผนัง และศึกษาค้นคว้าที่โบราณสถานอยุธยาเป็นเวลา 5 เดือนเต็ม เพื่อเขียนหนังสือชื่อ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” เมื่อประมาณ พ.ศ. 2509 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยมากกว่า 60 เล่ม เกี่ยวกับจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมไทย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการและผู้สนใจในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นนักเขียนในนาม น. ณ ปากน้ำ ได้เขียน “พจนานุกรมศิลปะ” พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศจะใช้ผลงานของท่านเป็นประโยชน์ต่อการสอนและการวิจัยจนถึงปัจจุบันนี้
ตำแหน่งงานราชการ
- ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศิลปศึกษา (เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) ปัจจุบันคือ วิทยาลัยช่างศิลป เมื่อ พ.ศ. 2497
- ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2499
- ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมจิตรกรประติมากรสมาคมแห่งประเทศไทย
รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. 2509 - ได้รับทุนมูลนิธิเอเซีย สำรวจอยุธยา 5 เดือน
พ.ศ. 2525 - เป็นกรรมการคัดเลือกและตัดสินงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 28
พ.ศ. 2526 - ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ประยุกต์ศิลป์) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2527 - ประกาศเกียรติคุณ “ศิลปินอาวุโส” ของมูลนิธิหอศิลป
พ.ศ. 2528 - กรรมการคัดเลือกและตัดสินสาขาจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 31
พ.ศ. 2529 - กรรมการคัดเลือกและตัดสินสาขาประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 32
พ.ศ. 2530 - รับพระราชทานกิตติบัตรในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมงานศิลปะสถาปัตยกรรมของ สมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ได้รับรางวัลชมเชย วันสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 เรื่อง “ฝรั่งในศิลปะไทย”
พ.ศ. 2532 - เป็นกรรมการคัดเลือกและตัดสินงานศิลปกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 35
- ได้รับยกย่องเป็นผู้สนับสนุนดีเด่นในการอนุรักษ์มรดกไทย จากคณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดก ไทย
พ.ศ. 2534 - ได้รับยกย่องเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่น ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2535 - ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จาก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535
- ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง
“ชุด จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดไชยทิศ” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
“ชุด จิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดไชยทิศ” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
- ได้รับโล่เกียรติคุณนักศึกษาดีเด่น เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2536 - ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ชั้นที่ 4 ชื่อ จัตุรถาภรณ์
- ได้รับรางวัลวรรณกรรมไทยชมเชย ประเภทร้อยแก้ว เรื่อง “พุทธประติมากรรมในประเทศไทย”
ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2537 - ได้รับรางวัลดีเด่นในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง
“ศิลปะวิเศษ สยามประเทศ : สุดยอดศิลปะในสายตาศิลปินแห่งชาติ” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
“ศิลปะวิเศษ สยามประเทศ : สุดยอดศิลปะในสายตาศิลปินแห่งชาติ” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2538 - ประกาศเชิดชูเกียรติ “ปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย” เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
- ได้รับรางวัลวรรณกรรมไทย รางวัลชมเชยประเภทร้อยแก้ว เรื่อง “วิวัฒนาการลายไทย” ของ มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
- ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง
“ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดคงคาราม” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2539 - ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง
“ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดโสมนัสวิหาร” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือ แห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2540 - ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป
เรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดสุทัศน์เทพวราราม” ของ
คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2541 - ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป
เรื่อง “ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดบางขุนเทียนใน” ของ
คณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2542 - ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ทฤษฎีศิลป์) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง “สมุดภาพประวัติศาสตร์ศิลปะสยาม ประเทศ :
ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2544 - ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดหนังสือดีเด่น ประเภทหนังสือสวยงามทั่วไป เรื่อง
“ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย พระที่นั่งทรงผนวช” และ “สมุดภาพประวัติศาสตร์ศิลปะ สยามประเทศ :
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา” ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
การแสดงศิลปกรรมและรางวัล
พ.ศ. 2493 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง (มัณฑนศิลป์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2496 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2498 - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 6
พ.ศ. 2499 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 7
พ.ศ. 2503 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11
พ.ศ. 2506 - แสดงศิลปกรรมเป็นชุดสีน้ำล้วนๆ ที่พญาไทแกลเลอรี่ ร่วมกับศิลปินหลายคน
และยังแสดง ศิลปกรรมร่วมกับจิตรกร-ประติมากร สมาคมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอีกหลายครั้ง
และยังแสดง ศิลปกรรมร่วมกับจิตรกร-ประติมากร สมาคมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอีกหลายครั้ง
พ.ศ. 2524 - วันที่ 8 กันยายน แสดงภาพสีน้ำ 4 ชิ้น ที่สถาบันเยอรมัน ในงานที่ระลึก “ศิลป์ พีระศรี”
พ.ศ. 2525 - แสดงภาพสีน้ำ 2 ชิ้น ในงานวันเปิดธนาคารแห่งประเทศไทย
- แสดงภาพสีน้ำ ร่วมรับเชิญจาก จิตรกรสีน้ำ “กลุ่มไวท์”
- ส่งภาพสีน้ำไปร่วมแสดงกับจิตรกรไทยอื่นๆ ที่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
- ร่วมกับศิลปินอื่นๆ ส่งภาพพอตเทรตไปแสดง 3 ชิ้น ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2526 - แสดงภาพสีชอล์ก 3 ชิ้น ในงานนิทรรศการภาพเขียนฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่ศาลาพระ เกี้ยว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปกรรมหลัง พ.ศ. 2475 ที่ธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2527 - ศิลปกรรมร่วมสมัย 27 ที่ River City
- นิทรรศการเดี่ยวจิตรกรรมภาพถ่ายในรอบ 30 ปี ของ น. ณ ปากน้ำ ที่ โรงแรมมณเฑียร
พ.ศ. 2530 - การแสดงศิลปกรรมที่ The Artist Gallery
- การแสดงศิลปกรรมรำลึกถึง สุเชาว์ ศิษย์คเณศ
- วันเกิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี 95 ปี ที่ศูนย์สังคีตศิลป์
พ.ศ. 2531 - การแสดงผลงาน “เนื่องในโอกาสวันเกิด 5 รอบนักษัตร” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
พ.ศ. 2535 - การแสดงงานเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี 2535 “73 ศิลปินศิษย์ศิลป์ พีระศรี”
ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
พ.ศ. 2536 - การแสดงงานที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติประเทศไทย
พ.ศ. 2537 - การแสดงนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น