วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

ศิลปะจีนและคนจีนในไทย

โดย น.ณ ปากน้ำ







ในวงการศิละไทยไม่ว่าจะเป็นศิลปะสาขาใดแม้ในการแสดง จะมีการออกภาษเป็นการแสดงเลียนแบบชาติต่างๆ เช่น ออกภาษามอญ ก็พูดและเจรจาให้สำเนียงคล้ายมอญ ดนตรีก็ออกทำนองมอญ หรืออกภาษาจีน ก็เลียนแบบจีนแทบทุกอย่าง ออกแขกก็ดูให้เป็นแขกหรือคล้ายแขก

ในด้านจิตรกรรมก็เช่นเดียวกันมักจะนิยมเขียนภาพชาดก บางห้องคล้ายกับ "ออกสิบสองภาษา" ดังกล่าวข้างต้น แต่เท่าที่ได้สังเกตมาจะมีการเขียนบานหน้าต่างภายในอุโบสถและวิหาร ซึ่งมักจะออกสิบสองภาษา เขียนภาพชนชาติต่างๆเป็นคู่ๆ เช่น มอญ ฝรั่ง ลาว จีน และแขก ดังเช่นในอุบสถวัดบางขุนเทียนนอก ธนบุรี เป็นต้น

ส่วนเรืองเกี่ยวกับชาดกที่ออกภาษา ก็เห็นจะมีออกภาษาจีนอย่างเดียว ดังเช่นในอุโบสถวัดบางขุนเทียนใน วัดพระเชตพนฯ และวัดไชยทิศ เป็นต้น

อย่างที่วัดไชยทิศนี้เป็นภาพเขียนในสมัยรัชกาลที่๑ เขียนภาพพุทธประวัติออกภาษาจีน ปราสาทราชวังเป็นปราสาทแปดเหลี่ยมหลายชั้น มีกำแพงแก้ว ซุ้มประตู ผู้คนแต่งตัวเป็นจีนหมด ยกเว้นแต่ตัวกษัตริย์และพระพุทธเจ้ายังคงเป็นแบบภาพเขียนไทย การที่นิยมออกภาษาจีนในภาพเขียนแทนที่จะออกเป็นภาษาอื่นบ้าง ก็คงจะเป็นเพราะว่าช่างเขียนไทยคุ้นเคยและสนิทสนมกับแบบแผนของศิลปะจีนนั่น เอง






 นายช่างจิตรกรจีนได้เข้ามาอวดฝืมือในดินแดนสยาม ประเทศ นับแต่บุราณกาลมาแล้ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางอ้อมนั้นคือลายขีดเขียนบนเครื่องลายคราม กับลายบนเครื่อแพรพรรณที่ส่งเข้ามาขาย

ส่งทางตรง ก็เข้ามาเนรมิตก่อสร้างสิ่งต่างๆ เขียนรูป ปั้นรูป และภาพเขียนบนฉากจีน ที่บรรทุกใส่ท้องสำเภาเข้ามาขาย

คนไทยเลยพลอยได้รับวิธีช่างต่างๆเข้ามาด้วย เช่น เครื่องเขิน ภาพเขียนลายกำมะลอ ภาพเขียนบนพื้นทอง ภาพจำหลักมุก และศิลปะอื่นๆนานาสารพัน

อย่างภาพนี้ เป็นภาพเขียนเรื่องจากพงศาวดารจีน บนพื้นทอง เขียนระบายน้ำหนักอ่อนแก่ลงไปด้วย เป็นกรรมวิธีสำคัญของช่างจีน ซึ่งวิธีนี้ดูเหมือนช่างไทยไม่สู้นิยม คงนิยมเอาแบบแผนลายกำมะลอ ซึ่งเป็นลายทองบนรักสีดำ และมีการระบายสีฝุ่น หลายสีเข้าประกอบด้วยเพียงเท่านี้







 ตุ๊กตาจีนเคลือบขนาดมหึมาที่วัดราชโอรส อยู่สองข้างทางเข้าพระอุโบสถ บัดนี้ถูกคนร้ายเด็ดเอาหัวไปกินเสียแล้ว บุคคลผู้ใส่เสื้อลายมังกรดั้นเมฆอย่างนี้ไม่ชวนให้เข้าใจไปเป็นอื่น นอกจากจะเป็นเยาวกษัตริย์ของจีนพระองค์หนึ่ง

น่าเสียดายว่าบัดนี้พระเศรียรของพระองค์ถูกคนร้ายหักคอเอาไปขายให้นักขายของ เก่าเสียแล้ว เดี่๋ยวนี้ใครจะตามไปดูก็คงเห็นเป็นรูปศรีษะด้วนน่าอับอายขายหน้ายิ่งนัก




 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปะของการก่อสร้างอาคารพระพุทธศาสนา อุโบสถกับวิหาร ได้หันมาเฟื่องฟูในการนิยมแบบแผนของจีน โดยเอามาประดิษฐ์ให้กลายเป็นแบบไทย ที่สุดก็กลายเป็นแบบประจำรัชกาลนี้

หลังคาด้านสกัด ไม่มีหน้าบันจำหลักไม้ แต่เป็นลายปั้นปูน ดูเสมือนว่าแฟชั่นของสถาปัตยกรรมจะย้อนกลับไปสู่อาคารอุโบสถทรงวิลันดาแบบ เดียวกับที่เคยทำกันมาในครั้งอยุธยาสมัยปลาย เพียงแต่ข้อปลีกย่อยแตกต่างกันบ้างเท่านั้น ศิลปะจีนโดยเฉพาะงานปูนปั้นได้มีโอกาสขึ้นไปประดับประดาบนหน้าบันสองขยักแบบ ศาลเจ้า มีรูปปั้นโขดเขาหินผา ระดไปด้วยไม้ใบ ไม้ดอก ค้างคาว สัตว์อันหมายถึงอายุยืน หมู่มวลวิหค เหาะเหินไต่เต้นไปตามที่กิ่งก้านของลำต้นพฤกษาอันคดเคี้ยว เบื้องบนมีดอกดวงอันสะพรั่งของบุปผชาติสลับกับก้อนเมฆและสกุณาที่ถลาลม

เมื่อได้พินิจศิลปการนี้เบื้องหน้า จิตก็เตลิดไปสู่มิติอันสงบสงัดของป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งสิ่งนี้แหละคือ แก่นแท้ของศลปะจีน อันเข้ามามีส่วนผูกพันกับสายเลือดและวิญญาณของนายช่างศิลปินไทยอย่างเข้มข้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๓ เป็นต้นมา






 ลายประแจจีน คือลายที่คนจีนนิยมใช้ในศิลปะการตกแต่งกับสถาปัตยกรรม ลักษณะเป็นการหักมุมมีเหลี่ยนสันแบบเรขาคณิต

ลายชนิดนี้คือบุคคลิกของความเป็นจีนโดยแท้ เป็นวัฒนธรรมสำคัญซึ่งทำให้นักปราชญ์จับเค้าได้ว่าชาติใด ถ้าเนรมิตลายแบบนี้ขึ้นมาเป็นศิลปะคู่บ้าน คู่เมือง ก็แสดงว่ามีเทือกเถาเหล่ากอมาจากจีน

อย่างเช่นลายอินเดียนแดงที่พวกมายัน พวกโตลเต็ค และแอสเต็คในแม็กซิโกนั่นปะไร นักปราชญ์ดูแล้วก็รู้ทันที่ว่าเป็นแอสเต็คที่มีโคตรเง่าเหล่ากอมาจากจีน

แล้วจีนไปอยู่ทวีปอเมริกาแต่ดึกดำบรรพ์ได้อย่างไร ไม่มีใครรู้และคาดเดากันไปไม่ถึง

ศึกษากันละเอียดทางธรณีวิทยาจึงรู้ว่าคนเผ่ามองโกลสายเดียวกับจีน เคยข้ามทวีปจากไซบีเรียไปอลาสก้าเมื่อปลายยุคน้ำแข็งครั้งที่๓ อย่างต่ำก็ ๗พันปีมาแล้ว สมัยที่น้ำแข็งยังไม่ละลายมาท่วมแผ่นดิน อย่างเช่นสะพานแผ่นดินระหว่าทวีปที่อลาสก้าก็จมอยู่ใต้น้ำ แผน่ดินที่เคยทอดติดต่อจากแหลมมาลายูไปอินโดนีเซียกับเกาะแก่งต่างๆก็ถูก ท่วมด้วยในครั้งนั้น พวกนี้พเนจรไปตั้งหลักแหล่งทั่วไปทั้งทวีปอเมริกา แล้วเอาสัญชาตญานของการออกแบบลายประแจจีนไปใช้ในอาณาจักรมายันที่แม็กซิโก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น