วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ลัคนา

โดย พลูหลวง
ปฐมภาคแห่งโหราศาสตร์
๒๒  กุมภาพันธ์ ๒๕๑๔

ในตำราโบราณมักจะเขียนว่า ลักขณา อันเป็นคำเดียวกับลักษณะ หมายถึงว่า ผู้มีลัคนาอยู่ ณ ราศีใด ก็จะมีลักษณะโน้มเอียงไปตามราศีนั้นๆ

ลัคนาคือ จุดอุทัยของราศีอันโผล่พ้นขอบฟ้าในขณะเกิด ทางทิศตะวันออก ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ใดเกิดขณะพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ ๖ โมงเช้า จึงมีอาทิตย์กุมลัคนนา ทั้งนี้เพราะราศีที่ลักคนาเกาะอุทัยขึ้นขอบฟ้าทิศตะวันออกกับอาทิตย์อุทัยพร้อมๆกัน  เมื่อหาลัคนาได้ก็จะเกิดภพต่างๆขึ้นโดยอัตโนมัติ คือ

ราศีที่ลัคนาอุทัย  เป็นภพที่ ๑
ราศีกลางฟ้าขณะเกิด เป็นภพที่ ๑๐
ราศีสุดขอบฟ้าตะวันตก เป็นภพที่ ๗

หากว่าเกิดตอนเที่ยงวัน อาทิตย์จะอยู่ตรงศรีษะ นั่นก็คืออาทิตย์อยู่ยังภพที่ ๑๐ ของดวงชาตา
หรือถ้าหากเกิดเวลาอาทิตย์กำลังตกดินเวลาประมาณ ๖ โมงเย็น ดวงอาทิตย์จะเล็งลัคนา หรืออยู่ในภพที่ ๗
หากเกิดเวลาเที่ยงคืน อาทิตย์จะอยู่ใต้โลกกึ่งกลางพอดี คือภพที่๔

กล่าวง่ายๆก็คือ ตั้งแต่ภพที่ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ นี้ เป็นภพลับขอบฟ้าไปแล้วอยู่ใต้โลก เป็นฝ่ายอดีตกรรมบันดาล
ส่วนภพที่ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ คือ ราศีอันลอยอยู่เต็มฟ้าขณะเกิด คือ ปัจจุบันกรรม

ถ้าภพฝ่ายอดีตกรรม มีดาวศุภเคราะห์ให้คุณตั้งอยู่มากก็แสดงว่ามีกรรมเก่ามาดี สนับสนุนให้สมบูรณ์พูนสุขในปัจจุบันชาติ มักจะมั่งมีทรัพย์สินศฤงคารต่างๆ

แต่ถ้าภพฝ่ายปัจจุบันกรรม มีดาวอันให้คุณสถิตอยู่มากก็แสดงว่า ผู้นั้นจะมาสร้างตนเองให้เป็นใหญ่เป็นโตขึ้น และรุ่งเรืองขึ้นได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง

ความหมายของภพ

ภพที่๑  คือลัคนา ภพที่๒ คือราศีถัดไปตามวิถีจักร หรือนับทวนเข็มนาฬิกา ถัดออกไปเป็นภพที่ ๓ ๔ ๕ ๖ ฯลฯ ตามลำดับ ภพแต่ภพมีความหมายลึกซึ้ง และเป็นเหตุสำคัญที่จะหยิบยกมาแสดงพยากรณ์ให้กว้างขวางออกไป

ภพที่๑ ตนุ คือ ลัคนา หมายถึงตัวตน สุขภาพ เคราะห์ดีร้ายต่างๆ ตลอดลักษณะรูปร่างของเจ้าชาตา

ภพที๒ กฎุพะ คือการเงิน หมายถึงรายได้ ทั้งจากการงาน หรือจะเป็นลาภลอยก็ตาม รวมทั้ง อนรรฆมณีมีค่าต่างๆอันเป็นสมบัติส่วนหนึ่งของมนุษย์อีกด้วย นอกจากนี้ยังหมายถึงการเจรจา และสิ่งอันนำวิถึชีวิต ถ้ามีดาวอยู่ในภพนี้โบราณเรียกว่า ศูนยะพาหนะ คือ เครื่องนำวิถีชีวิตนั่นเอง

ภพที่๓  สุหัชชะ แปลว่า เพื่อน  หมายถึง เพื่อนบ้าน ข่าวสารการเดินทางใกล้ๆ พวกพ้อง ญาติมิตร

ภพที่๔  พันธุ คือญาติ ภพนี้มีความหมายกว้างขวางและสำคัญมาก หมายถึงบ้านเรือนและอสังหาริมทรัพย์ทั้งปวง เช่น ที่ดิน เรือกสวน ไร่นา รวมทั้งยวดยานพาหนะ หมายถึง มารดาในดวงชาย หมายถึง บิดาในดวงหญิง

ภพที่๕  ปุตตะ คือบุตร หรือผู้เยาว์วัยในปกครองของเจ้าชาตา รวมทั้งสัตว์เลี้ยงบนบ้าน เช่น สุนัข แมว ด้วย

ภพที่๖ อริ คือศัตรู หรือ คู่แข่งขัน ผู้แสดงตนเป็นประโยชน์กับเรา อุปสรรคต่างๆ

ภพที่๗ ปีตนิ คือคู่ครอง หรือคู่หมั้นหมาย

ภพที่๘ มรณะ คือความตาย ความเจ็บไข้ และมรดก

ภพที่๙ ศุภะ หมายถึงความดี เป็นภพแห่งการถือบวช การเลื่อนยศตำแหน่ การเดินทางไกล การยกย่องสรรเสริญ บิดาในดวงชาย มารดาในดวงหญิง

ภพที่๑๐ กัมมะ คือ การงาน

ภพที่๑๑ ลาภะ คือ ลาภ หรือ ผู้สนับสนุน เพื่อนสนิท หรือ คู่รัก

ภพที่๑๒ วินาศนะ คือ ความเร้นลับไม่เปิดเผย การถูกคุมขัง การล้มละลาย และศัตรูที่ไม่เปิดเผย ตลอดจนทรัพย์สินหรือภรรยาลับๆ

ภพหลักของดวงชาตา ก็คือ ภพที่๑ ตนุ  ภพที่๔ พันธุ  ภพที่๗ ปัตนิ และภพที่๑๐ กัมมะ  กล่าวคือ นอกจากลัคนาแล้ว ภพที่๔ อันเป็นหลักฐานบ้านเรือนย่อมสำคัญ ด้วยจะเกิดความมั่นคง มั่งมีศรีสุขอย่างไรย่อมดูจากภพนี้  และภพที่๑๐ คือการงาน ถ้าดีเด่นก็ย่อมบันดาลให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ส่วนอื่นๆก็ดีขึ้นหมด  ภพที่๑๐ จึงถือว่าสำคัญที่สุด ส่วนภพที่๗ คู่ครองก็สำคัญมาก ถ้าได้คู่ครองดีย่อมเป็นศรีแก่ตนเกิดความมั่นคงแก่ชีวิตและครอบครัว หาได้คู่ชั่วย่อมจะทำให้ชีวิตเศร้าหมองวอดวายหรือมิฉะนั้นก็ล่มจมไปเลย

ภพที่๑๐ เป็นภพสำคัญที่สุด ดาวใดที่สถิตอยู่ยังภพนี้ ย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตอย่างใหญ่หลวง อาจบันดาลให้ชีวิตหันเหไปตามอิธิพลของดาวนั้น เช่นดาวอังคาร(๓) อยู่ตรงศรีษะขณะเกิด(ภพที่๑๐) มักมีอันตราย มักประสบอุบัติเหตุหรือมีการผ่าตัด มักประกอบอาชีพเป็นทหาร ศัลยแพทย์ หรือ วิศวกร ถ้าดาพุธอยู่ในภพนี้ มักสนใจทางหนังสือ งานประพันธ์ หรือการพูด การเจรจา  ดาวศุกรอยู่ภพที่๑๐ สนใจทางศิลปะ หรือจะเป็นศิลปิน ดังนี้เป็นต้น

ภพและความสัมพันธของภพ

ภพแต่ละภพมีส่วนสัมพันธ์กันตามมุมร่วมธาตุของแต่ละภพ ภพที่เป็นหลักก็คือ ภพที่ ๑ลัคนา ภพที่๔ ภพที่๗ และภพที่๑๐ ภพอืนจึงเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น



สมมุติว่าลัคนาอยู่ราศีเมษ  ราศีเมษจึงเป็น ภพที่๑ ภพอื่นจึงอยู่ถัดไปตามวิถีจักร ตามลำดับ

ให้พิจารณาภพหลักทั้ง ๔ ไปตามลำดับดังนี้

ภพที่๑ คือตนุ อันเป็นตัวตนของเจ้าชาตา ในมุมร่วมธาตุคือ ภพที่๕ปุตตะ และ ภพที่๙ คือบิดาหรือมารดา  จะเห็นว่าเจ้าชาตา บุตร และบิดามารดา ย่อมมีส่วนสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ทั้งสามประการจึงมีส่วนรับเคราะห์แทนกันได้ และมีส่วนช่วยพยุงซึ่งกันและกัน

เช่น เจ้าชาตาได้บุตรดีมีเชื่อเสียง ก็ย่อมทำให้เจ้าชาตามีหน้าดาและฐานะดีขึ้นกว่าเดิม มีคนยกย่องนับหน้ถือตาจากบุคคลที่ยกย่องในบุตรของตน และบิดามารดาของตนก็ย่อมมีส่วมร่วมในบารมีนั้นด้วย  หรือถ้าเจ้าชาตาได้บิดามารดามีฐานะดีมีมรดกก็มีส่วนทำให้เจ้าชาตามีความเป็นอยู่ดี ฐานะดี และท้ายที่สุดก็ได้มรดกของบิดามารดา  จึงเห็นได้ว่า ภพที่ ๑ ๕ ๙ จึงมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  เมื่อมีดาวดีโคจรมาถึง ภพใดภพหนึ่งย่อมทำให้อีกสองภพได้ผลดีร่วมด้วย หรือถ้ามีดาวยร้ายโคจรถึง ก็ต้องสะเทือนไปหมดเช่นกัน

ภพที่๔ คือบ้าน หลักฐานที่ดินของเจ้าชาตา ย่อมสัมพันธ์กับภพที่๘ มรณะ และภพที่๑๒ วินาศนะ อันเป็นภพที่แสดงความไม่เปิดเผย

ภพที่๘ มรณะคือมรดงและทรัพย์สิน ที่ได้มาจากบุคคลที่ถึงแก่กรรม ซึ่งตรงกับภพที่๔ อันเป็นอสังหาริมทรพัย์ในปัจจุบันของเจ้าชาตา ส่วนภพที่๑๒ นั้นเป็นสินอันไม่เปิดเผยของเจ้าชาตา เข่าเจ้าชาตาอาจจะไปมีบ้านลับๆ มีภรรยาน้อย หรือ มีที่ดินในที่ไม่เปิดเผยบางแห่ง ก็มีส่วนสัมพันธ์เช่นเดียวกับภาพที่๔ คือบ้านอันเปิดเผย นั่นเอง  ทั้งสามภพนี้ย่อมสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  และมีความหายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกัน เช่น เจ้าชาตามีบ้านปัจจุบัน บ้านเก่าของบิดามารดา และบ้านในชนบทหรือบ้านคากอากาศริมทะเล เราก็จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเรื่องคือ บ้านที่อยู่บัจจุบันคือภพที่๔ บ้านบิดามารดาคือภพที่๘ ส่วนบ้านชายทะเลหรือบ้านพักร้อน หรือบ้านภรรยาน้อย คือภพที่๑๒

ภพที่๗ คือภรรยาคู่ครองหรือผู้ร่วมใจ ย่อมสัมพันธ์กับภพที่ ๑๑ และ ภพที่๓  ในมุมร่วมธาตุอย่างใกล้ชิต เพราะทั้งสามภพนี้หมายถึง ผู้ร่วมใจทั้งสิ้น  ภพที่๓ คือเพื่อน    ภพที่๗ คือคู่รัก มิตรสนิท หรือ สามีภรรยา   ภพที่๑๑ คือเพื่อนสนิท หรือผู้สนันสนุนส่งเสริม

ความสัมพันธ์ ก็เปลี่ยนแปลงได้  เร่ิมต้นเมื่อชายหรือหญิงพบเพศตรงข้ามก็เริ่มคบหาเป็นมิตรก่อน ต้องดูภพที่๓ ต่อมาเมื่อสนิทสนมช่วยเหลือกันได้ ต้องดูภพที่๑๑

ภพที่๑๐  คือการงาน  และการกระทำ  การดำเนินวิถีชีวิตของเจ้าชาตา ซึ่งเป็นภพที่สำคัญที่สุดของเจ้าชาตา  ย่อมเกี่ยวพันกับภพที่๒ คือการเงินหรือรายได้  และภพที่๖ คือบริวารผู้ร่วมงานหรือผู้ร่วมประสานงาน  จะเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น  เพราะเมือเจ้าชาตางานดี(ภพที่๑๐)  ย่อมมีรายได้ดี(ภพที่๒) และผู้ร่วมทุนหรือกิจากรที่อยู่ในเครือเดียวกันย่อมดีขึ้น ลูกน้องบริวารก็มีส่วนดีขึ้นด้วย(ภพที่๖)  ถ้าบริวารไม่ดี ทรยศหักหลัง(ภพที่๖) ย่อมทำให้การงาน(ภพที่๑๐) ล้มเหลว และส่งผลต่อรายได้(ภพที่๒) ลดลงด้วย

การพิจารณาถึงภพในมุมร่วมธาตุจึงสำคัญที่สุด เมื่อมีสิ่งใดมากระเทือนไม่ว่าดีหรือร้าน ย่อมส่งกระแสถึงกันและกันโดยตลอด เมื่อศึกษาโหราศาสตร์จะต้องคำนึงเรื่องนี้เป็นหลัการใหญ่ อย่างไรก็ดีภพทุกภพย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่  เมื่อพิจารณาถึงภพใดๆ ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงส่วนอื่นอันจะมีส่วนมาเกี่ยวพันด้วยเสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น