|
ความงามในศิลปไทย
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๑๐ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
น. ณ ปากน้ำ
(พ.ศ.๒๔๗๑ - ) |
ความงามในศิลปไทย
เป็นหนังสือที่ผู้เขียน เขียนขึ้นเนื่องจากได้
รับแรงบันดาลใจจากการอ่านบันทึกของบาทหลวงเดอ
ชัวสี ที่เดินทางเข้ามาใน
อยุธยาอาณาจักรที่รุ่งเรืองของไทย
เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ บาทหลวงท่านนี้ได้บันทึก
ความประทับใจต่างๆ
ที่ได้พบเห็นตั้งแต่ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และศิลปะ
ของไทย
สมัยสมเด็จพระนารายณ์
เนื้อหาสาระของหนังสือ
เริ่มจากผู้เขียนปูพื้นให้รู้จักซาบซึ้งกับคุณค่า
ของไทยโบราณเป็นเรื่องแรก
เพื่อให้เห็นถึงลักษณะพิเศษที่ไม่ซ้ำแบบใคร แม้ว่า
จะได้รับอิทธิพลจากขอมมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็นำมาปรับปรุงเป็นแบบของไทยให้มี
ความอ่อนโยนละมุนละไม
ดังเช่น พระพุทธรูปสุโขทัย จากนั้นผู้เขียนจึงเล่าเรื่อง
ภาพไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย
เรื่อยมาจนถีงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเป็นไปในลักษณะ
ของการอธิบายภาพพร้อมกับการยกตัวอย่างภาพจากการสำรวจตามวัดต่างๆ
ของเมืองไทย เช่น
ภาพเขียนในผนังโบสถ์วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี ซึ่งมีผลงาน
ชิ้นสำคัญของจิตรกรไทยอันทรงคุณค่า
ภาพเขียนในวัดบวรนิเวศ ซึ่งมีผลงาน
ของขรัวอินโข่ง
จิตรกรเอกสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น
โดยเฉพาะการติดต่อกับต่างประเทศ
ผู้เขียนยกย่องความงามของภาพไทยว่า
"ความงามของภาพเขียนไทยอยู่ที่เส้นและสีที่ประสานกลมกลืนกัน เมื่อ
ศิลปินไทยเขียนความเศร้าโศก
เราจะเห็นสัญลักษณ์ของความโศกนั้นตามเส้นทาง
และท่าทาง
เช่น ภาพพระเวสสันดรตอนพระเวสสันดรได้พบกับพระบิดามารดาต่าง
พิลาปรำพันเข้าหากัน
นับเป็นการแสดงอารมณ์ของศิลปินด้วยเส้นแท้ๆ"
เนื่องจากศิลปะไทยโบราณเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสนาเป็นหลักเรื่องราว
ต่างๆ
ที่จิตรกรนำมาเขียนจึงเป็นเรื่องราวที่อิงพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น
ก็จะแทรกวัฒนธรรม
ความเป็นอยู่ดังเช่น ผลงานของขรัวอินโข่งในสมัยรัชกาลที่ ๓-๔
เป็นต้น
นอกเหนือจากศิลปะด้านจิตรกรรมแล้ว
ผู้เขียนยังกล่าวถึงผลงานทาง
ด้านประติมากรรม
ตั้งแต่สมัยแรกจนมาถึงยุคของศิลปะสมัย ในยุคที่ผู้เขียนกำลัง
เขียนหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะเน้นถึงการสร้างพระพุทธรูป
ศิลปะของล้านนา ตลอด
จนการพรรณนาถึงประวัติโดยสังเขปของศิลปินไทยบางคนที่ควรยกย่อง
การ
เปรียบเทียบศิลปะไทยกับตะวันตก
เป็นต้น
มีการรวมบทความด้านศิลปะที่มีความหลากหลายที่น่าอ่าน
เพราะผู้เขียน
ใช้วิธีการเล่าเรื่องแทรกไปกับการพรรณนาความงาม
สภาพของสิ่งที่พบเห็นและการ
เสนอแนวความคิดของผู้เขียนในด้านต่างๆ
ตลอดจนในแง่ของการอนุรักษ์ เนื่อง
จากผู้เขียนมีพื้นฐานทางด้านศิลปะและทำการศึกษาค้นคว้ามาหลายปี
มีประสบการณ์
ด้านงานศิลปะมาก่อน
จึงทำให้สามารถอธิบายเรื่องราวทางด้านศิลปะที่ก่อให้เกิด
จินตนาการสำหรับผู้อ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป ผู้เขียนทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก
ร่วมไปด้วยว่า
ประเทศไทยมีศิลปะความงามที่ทรงคุณค่าอยู่มาก แต่ไม่แพร่หลาย และ
นับวันก็จะถูกทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ซึ่งถ้าไม่มีการบันทึกเอาไว้แล้ว
ความ
งามเหล่านี้ก็จะไม่มีผู้ใดรู้จัก
สำหรับในเรื่องของความเข้าใจในศิลปะนี้ เป็นเรื่องที่ต้อง
อาศัยเวลาในการฝึกฝนการรับรู้และเข้าใจ
ดังที่ว่า
"จะเข้าใจในศิลป จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงความคิดของผู้สร้างงานศิลปว่า
มันก่อรูปมาจากอะไร
เพราะศิลปเป็นเรื่องของความคิดโดยเฉพาะ ถ้าจะศึกษาศิลปโดย
ไม่ยอมคิดด้วยแล้ว
อาจจะถูกจูงจมูกได้ง่าย"
เพราะความงามของศิลปะไทยนั้นแอบแฝงอยู่ที่เส้น
ลวดลายและน้ำหนักสี
สันที่ศิลปินไทยแสดงอารมณ์ออกมาให้เห็นนั่นเอง
|
น. ณ ปากน้ำ
น. ณ ปากน้ำ มีชื่อจริงว่า
ประยูร อุลุชาฏะ เกิดวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๗๑ ที่ตำบลมหาวงศ์
อำเภอเมืองสมุทรปราการ เริ่มเรียนชั้นมูลที่โรงเรียนเยาววิทยา
แล้วย้ายไปเรียนชั้นประถมปีที่
๑-๔ ที่โรงเรียนวัดนอก (วัดพิชัยสงคราม) จากนั้นไปต่อ
ระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดกลาง สมัยเรียนหนังสือเคยออกหนังสือประจำชั้น
โดยเขียน
ภาพประกอบเอง
ความที่สนใจในด้านศิลปะ จึงเข้ากรุงเทพฯ เข้าเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง
ก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัยศิปากร
นักศึกษารุ่นเดียวกันที่สำคัญ คือ อังคาร กัลยาณพงศ์
และไพบูลญ์ สุวรรณูฏ
เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ อาจารย์ศิลป พีระศรี ขณะเรียนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้หารายได้ด้วยการเขียนภาพประกอบหนังสือ
เมื่อสำเร็จการศึกษา
แล้ว
ได้เริ่มสอนที่โรงเรียนศิริศาสตร์ ต่อมาอาจารย์ศิลป พีระศรี ชวนมาสอนที่โรงเรียน
ศิลปศึกษาซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมของศิลปากร
ต่อมาได้เป็นเลขาธิการมหาวิทยาลัยศิลปา
กร และสอนในคณะจิตรกรรมฯ ระยะหนึ่งแล้วลาออก
ช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๐ เริ่มตระเวนศึกษาศิลปะโบราณสถานตามที่ต่างๆ
และเริ่ม
งานเขียนแนะนำและวิจารณ์ศิลปะลงในหนังสือพิมพ์
เช่น กระดึงทอง สยามสมัย สยามรัฐ
สัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง
เป็นต้น
มีผลงานศิลปะรูปสีน้ำมัน
ซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว
เหลือให้เห็นเพียงภาพจันทบุรีที่ได้รับรางวัลเหรียญทองเพียงรูปเดียว
ซึ่งปัจจุบันติดตั้ง
อยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ และภาพพุทธประวัติในโบสถ์วัดป่าโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น